ติดโซล่าเซลล์ คุ้มไหม ขายไฟให้การไฟฟ้าได้หรือไม่
หลายคนที่กำลังคิดว่าติดตั้งโซล่าเซลล์แล้วคุ้มหรือไม่ สรุปสั้นๆ เลย คือ คุ้มแน่นอนในระยะยาว เพราะนอกจากจะช่วยประหยัดไฟต่อเดือนได้เรื่อยๆ จนสามารถคืนทุนได้แล้ว ยังสามารถที่จะขายไฟให้กับการไฟฟ้า เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับทางเจ้าบ้าน เจ้าของอาคารได้อีกด้วย
โดยในบทความนี้ เราจะมาดูรายละเอียดกันว่า ติดโซล่าเซลล์แล้วคุ้มยังไง และจะขายไฟคืนให้กับการไฟฟ้าได้อย่างไร
รู้จักกับโซล่าเซลล์
โซล่าเซลล์ หรือที่เรียกกันว่า เซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ หรือ ซลล์โฟโตโวลตาอิก (PV) คืออุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ไปเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยจะผลิตจากวัสดุประเภทสารกึ่งตัวนำ (Semiconductor) เช่น ซิลิโคน ซึ่งโซล่าเซลล์หลายๆ เซลล์รวมกัน จะกลายเป็นแผงโซล่าเอาไว่ติดตั้งใช้งาน
หลักการทำงานคร่าวๆ คือ เมื่อแผงโซล่าเซลล์ได้รับแสงอาทิตย์อย่างเพียงพอ อิเล็กตรอนที่อยู่ใน Semiconductor ก็จะถูกกระตุ้น และเริ่มผลิตกระแสไฟฟ้า หลังจากนั้น จะมีอุปกณณ์ที่เรียกว่าอินเวอร์เตอร์ (Inverter) ซึ่งจะเป็นตัวเปลี่ยนไฟฟ้าแบบ DC ไปเป็น AC ที่ใช้ภายในบ้านต่อไป
โดยระบบโซล่าเซลล์นั้น มี แบบ ได้แก่:
- ระบบออนกริด คือ ระบบที่ต่อตรงเข้ากับกริดไฟฟ้าของหน่วยงานรัฐ
- ระบบออฟกริด เป็นระบบที่ทำงานด้วยพลังงานแสงอาทิตย์แบบเต็มรูปแบบ ไม่มีการพึ่งพาไฟฟ้าจากหน่วยงาน
- ระบบไฮบริด เป็นระบบที่รวมการทำงานของทั้งออนกริดและออฟกริดเข้าด้วยกัน โดยจะมีการต่อเข้ากับกริดไฟฟ้าของหน่วยงาน แต่ก็สามารถจ่ายไฟผ่านแบตเตอรี่ได้เมื่อจำเป็น
คำนวณความคุ้มค่า
เมื่อรู้หลักการทำงานและระบบของแผงพลังงานแสงอาทิตย์แบบคร่าวๆ กันไปแล้ว เราลองมาดูตัวอย่างการคำนวณว่า ติดตั้งโซล่าเซลล์แล้ว คุ้มหรือไม่
ยกตัวอย่างเช่น ราคาการติดตั้งโซล่าเซลล์ รวมอุปกรณ์ต่างๆ จะอยู่ที่ประมาณ 180,000 ถึง 300,000 บาท
โดยเฉลี่ย คนไทยใช้ไฟฟ้าประมาณ 6,000 kWh ต่อปี
ค่าไฟโดยเฉลี่ยต่อ kWh จะอยู่ที่ประมาณ 4 บาท หากไม่มีโซล่าเซลล์ ราคาค่าไฟที่ต้องจ่ายต่อปี = 6,000 kWh * 4 บาท/kWh = 24,000 บาท
หากมีการติดตั้งโซล่าเซลล์ และตัวแผงสามารถผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 5,000 kWh ต่อปี ก็ สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้ประมาณ 20,000 บาท
เราลองมาการวิเคราะห์ต้นทุนและการประหยัดรายปีเป็นเวลา 25 ปี โดยพิจารณาจากอายุการใช้งานของระบบและอัตราการเสื่อมประสิทธิภาพทั่วไป (แผงโซลาร์เซลล์มีอัตราการเสื่อมประสิทธิภาพประมาณ 0.5% ต่อปี) โดยจะสมมุติว่า ราคาค่าติดตั้งที่ลงทุนไป อยู่ที่ 220,000 บาท
ปี | การลงทุนสะสม | การประหยัดรายปี | การประหยัดสะสม | การประหยัดสุทธิ |
---|---|---|---|---|
1 | 220,000 บาท | 20,000 บาท | 20,000 บาท | -200,000 บาท |
2 | 220,000 บาท | 19,900 บาท | 39,900 บาท | -180,100 บาท |
3 | 220,000 บาท | 19,800 บาท | 59,700 บาท | -160,300 บาท |
4 | 220,000 บาท | 19,700 บาท | 79,400 บาท | -140,600 บาท |
5 | 220,000 บาท | 19,600 บาท | 99,000 บาท | -121,000 บาท |
10 | 220,000 บาท | 19,100 บาท | 189,500 บาท | -30,500 บาท |
15 | 220,000 บาท | 18,600 บาท | 277,000 บาท | 57,000 บาท |
20 | 220,000 บาท | 18,100 บาท | 361,500 บาท | 141,500 บาท |
25 | 220,000 บาท | 17,600 บาท | 443,000 บาท | 223,000 บาท |
ปัจจัยที่มีผลต่อการประหยัด:
- เงินที่ใช้ลงทุนไป: จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่า เราได้ลงทุนไปค่อนข้างเยอะ จึ่งใช้เวลาประมาณ 13-15 ปีในการคืนทุน แต่หากลงทุนน้อยกว่านี้ ก็สามารถคืนทุนได้เร็วขึ้น
- อัตราค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น
- การบำรุงรักษา: แม้ว่าแผงโซลาร์เซลล์จะต้องการการบำรุงรักษาน้อย แต่การทำความสะอาดและการตรวจสอบเป็นครั้งคราวอาจมีค่าใช้จ่ายเล็กน้อย
- ระบบเก็บพลังงานแบตเตอรี่: การเพิ่มระบบเก็บพลังงานแบตเตอรี่ (ในกรณีที่ติตั้งด้วยระบบออฟกริดและไฮบริด) จะเพิ่มการลงทุนเริ่มต้น แต่จะช่วยเพิ่มความเป็นอิสระด้านพลังงานและการประหยัดค่าใช้จ่าย
นอกจากเรื่องการคืนทุนและการประหยัดค่าไฟแล้ว ตามสิถิติ อสังหาริมทรัพย์ที่มีการติดตั้งโซล่าเซลล์ ยังสามารถเพิ่มมูลค่าได้อีกด้วย โดยจะอยู่ที่ประมาณ 4% สูงกว่าราคาทั้วไป
การขายไฟคืนให้กับการไฟฟ้า
สำหรับผู้ที่ติดตั้งโซล่าเซลล์แบบออนกริดและไฮบริด ที่มีการต่อตรงเข้ากับมิเตอร์ของหน่วยงานรัฐ สามารถที่จะขายไฟส่วนเกินที่ถูกผลิตคืนให้กับการไฟฟ้าได้อีกด้วย แต่จะต้องมีการทำสัญญาขายไฟขึ้นมา พร้อมมีเงื่อนไขที่ต้องเข้าใจก่อน โดยเบื้องต้น สามารถดูขั้นตอนรายละเอียดคร่าวๆ ได้ที่ https://myenergy.mea.or.th/ หรือ https://ppim.pea.co.th/
คุณสมบัติของผู้ที่จะยื่นขายไฟ
บุคคลทั่วไป:
- เป็นเจ้าของหรือครอบครองที่ดินที่ตั้งสถานที่ผลิตไฟฟ้า
- ต้องการขายไฟฟ้าส่วนเกินจากระบบผลิตไฟฟ้าของตนเอง
- ผ่านเกณฑ์มาตรฐานทางเทคนิคและความปลอดภัยของ กฟผ. หรือ กฟภ.
- ลงทะเบียนเป็นผู้ประกอบการพลังงานขนาดเล็ก (Small Power Producer – SPP) กับ กฟผ. หรือ กฟภ.
นิติบุคคล:
- เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย
- ต้องการขายไฟฟ้าจากระบบผลิตไฟฟ้าของตนเอง
- ผ่านเกณฑ์มาตรฐานทางเทคนิคและความปลอดภัยของ กฟผ. หรือ กฟภ.
- ขอใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงานไฟฟ้าประเภทผลิตไฟฟ้าจาก กฟผ. หรือ กฟภ.
ขั้นตอนการยื่นขายไฟฟ้า
1. ตรวจสอบคุณสมบัติ:
- ตรวจสอบว่าตนเองมีคุณสมบัติตามที่ระบุข้างต้นหรือไม่
- ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
2. เตรียมเอกสาร:
- เอกสารแสดงความเป็นเจ้าของหรือครอบครองที่ดิน
- เอกสารรับรองมาตรฐานทางเทคนิคและความปลอดภัยจาก กฟผ. หรือ กฟภ.
- เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (กรณีมี)
3. ยื่นคำขอ:
- กรอกแบบคำขอขายไฟฟ้า
- ยื่นเอกสารประกอบ
- ชำระค่าธรรมเนียม โดยเริ่มต้นที่ประมาณ 8,000 บาท (ราคานี้ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)
4. รอพิจารณา:
- กฟผ. หรือ กฟภ. จะพิจารณาคำขอภายในระยะเวลาที่กำหนด (ประมาณ 7-10 วัน)
- แจ้งผลการพิจารณาให้ทราบ
5. ลงนามสัญญา:
- กรณีได้รับอนุมัติ จะต้องลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟผ. หรือ กฟภ.
สิ่งที่ต้องใช้
- เอกสารแสดงความเป็นเจ้าของหรือครอบครองที่ดิน
- ใบรับรองมาตรฐานทางเทคนิคและความปลอดภัยจาก กฟผ. หรือ กฟภ.
- แบบคำขอขายไฟฟ้า
- เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (กรณีมี)
ข้อจำกัด
- กำลังการผลิตไฟฟ้าต้องไม่เกิน 10 เมกะวัตต์
- สถานที่ผลิตไฟฟ้าต้องอยู่ในพื้นที่ที่ กฟผ. หรือ กฟภ. กำหนด
- ระบบผลิตไฟฟ้าต้องผ่านมาตรฐานทางเทคนิคและความปลอดภัยของ กฟผ. หรือ กฟภ.
- ไฟฟ้าที่ผลิตต้องมีคุณภาพตามมาตรฐานของ กฟผ. หรือ กฟภ.
บริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์
จากที่ได้อธิบายไป จะเห็นได้ว่า การติดตั้งโซล่าเซลล์นั้นคุ่มค่ามาก เพราะนอกจาจะช่วยประหยัดค่าไฟและคืนทุนในระยะยาวได้แล้ว ยังสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับทรัพย์สิน และขายไฟส่วนเกินให้กับการไฟฟ้าได้อีกด้วย
ดีงนั้นแล้ว หากท่านกำลังมองหาบริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์แบบครบวงจร ที่สามารถติดตั้งโซล่าเซลล์ได้ทุกระบบ ในราคาที่ย่อมเยา เราคือหนึ่งในตัวเลือกที่ดีที่สุด Solar by Personet ใ้บริการติดตั้งโซล่าเซลล์ทุกรูปแบบ โดยทีมงานวิศวกรผู้เชี่ยวขาญ ประสบการณ์ยาวนานกว่า 10 ปี พร้อมจัดจำหน่ายแผงและอุปกรณ์ในการติดตั้งที่ได้มาตรฐาน ติดต่อเราวันนี้ พร้อมบริการให้คำปรึกษาและลงพื้นที่สำรวจหน้างาน ฟรี โทรหาเราที่ 0632096313 หรือแอดไลน์มาที่ @personet