5 ขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ 2567

การขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์นั้นถือเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาภายหลังเวลาใช้งานและเพื่อความปลอดภัยของเจ้าของอาคารบ้านเรือน โดยการขออนุญาตนั้น จะต้องทำเฉพาะสำหรับโซล่าเซลล์แบบออนกริด (On Grid) และระบบไฮบริด (Hybrid) เพราะมีการใช้งานไฟฟ้าจากหน่วยงานรัฐบาล

โดยคร่าวๆ ขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ปี 2567 มี 5 ข้อ ดังนี้:

  1. ตรวจสอบความพร้อมของพื้นที่
  2. ยื่นใบอนุญาติก่อสร้าง
  3. ลงทะเบียนที่สำนักงาน กกพ.
  4. แจ้งไปที่ กฟน. หรือ กฟภ. (PEA)
  5. ยื่นหนังสือรับรอง

1. ตรวจสอบความพร้อมของพื้นที่

สิ่งแรกที่ต้องทำก่อนยื่นเอกสารต่างๆ คือการตรวจสอบความพร้อมของพื้นที่ว่าสามารถติดตั้งโซล่าเซลล์ได้มั๊ย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วแผงโซล่าเซลล์จะต้องติดตั้งในพื้นที่ที่มีแดดส่องถึงอย่างน้อย 5 ชั่วโมงต่อวัน และพื้นที่นั้นต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะรองรับแผงโซล่าเซลล์อย่างเพียงพอ

ในส่วนนี้ เจ้าของบ้านหรืออาคารสามารถทำเองได้ หรือจ้างบริษัทรับติดตั้งมาสำรวจหน้างานก่อนได้หากไม่แน่ใจ เพราะส่วนใหญ่จะให้บริการนี้ฟรี

2. ยื่นใบอนุญาตก่อสร้าง

หากพื้นที่พร้อม ขั้นตอนต่อไปคือการยื่นใบอนุญาตก่อสร้าง (อ.1) กับหนน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เช่น อบต. เพื่อขออนุญาตดัดแปลง/แก้ไขอาคาร

เอกสารที่ต้องเตรียม:

  • แบบคำขอ ข.1
  • แบบแปลนตัวแผงโซลล่าเซลล์ และรายละเอียดโครงสร้างทั้งหมด
  • ใบรับรองจากวิศวกรโยธาและแบบฟอร์มสำรวจอาคาร

เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนนี้แล้ว สามารถดำเนินการติดตั้งได้เลย ซึ่งหากท่านกำลังมองหาบริษัทติตั้งโซล่าเซลล์ที่น่าเชื่อถืออยู่ เราคือตัวเลือกที่ตอบโจทย์ในทุกการให้บริการ ติดต่อเราวันนี้ เพื่อขอข้อมูลเพื่มเติม

3. ลงทะเบียนที่สำนักงาน กกพ.

เพื่อแจ้งให้หน่วยงานรัฐให้ทราบ เจ้าบ้านต้องลงทะเบียนกับหน่วยงานพลังงาน กกพ. ที่สำนักงานโดยตรงหรือสามารถทำผ่านออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ https://www.erc.or.th/

เอกสารที่ต้องเตรียม:

  • สำเนาเอกสารยื่นขอจากหน่วยงานท้องถิ่น
  • สำเนาบัตรประชาชนที่ตรงกับชื่อผู้ใช้ไฟและบิลค่าไฟ
  • แผนผังแสดงตำแหน่งติดตั้งแผงโซล่าเซลล์
  • รายละเอียดทางเทคนิคของระบบโซล่าเซลล์ เช่น รุ่น ยี่ห้อ Spec
  • รายละเอียดทางเทคนิคของ Inverter เช่น รุ่น ยี่ห้อ Spec
  • หนังสือรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ของแผงโซล่าเซลล์
  • หนังสือรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ของ Inverter
  • เอกสารมอบอำนาจ (กรณีทำมอบอำนาจ)

4. แจ้งไปที่ กฟน. หรือ กฟภ. (PEA)

เมื่อได้เอกสานรับรองจากกระทรวงพลังงานแล้ว ต่อไปเจ้าบ้านต้องทำการแจ้งไปที่ กฟน. (การไฟฟ้านครหลวง) หรือ กฟภ. (การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค) เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบระบบไฟฟ้าและทำการชำระค่าไฟเพื่อให้ได้รับหนังสือรับรองไปยื่นต่อไป

เอกสารที่ต้องเตรียม:

  • แบบคำขอ ข.1
  • ใบสมัครขออนุญาตติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (ดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ กฟน. หรือ กฟภ.)
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาบัตรประชาชน
  • หนังสือรับรองนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล)
  • ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร
  • แบบแปลนแสดงแผนผังและโครงสร้างหลังคา
  • แผนผังแสดงตำแหน่งติดตั้งแผงโซล่าเซลล์
  • รายละเอียดทางเทคนิคของระบบโซล่าเซลล์ เช่น รุ่น ยี่ห้อ Spec
  • หนังสือรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ของแผงโซล่าเซลล์
  • หนังสือรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ของ Inverter
  • ใบรับรองวิศวกรผู้ออกแบบและผู้ควบคุมงาน

5. ยื่นหนังสือรับรอง

ขั้นตอนสุดท้ายคือการยื่นเอกสารหลักฐานต่างๆ ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ซึ่งจะประกอบด้วย หลักฐานการตรวจสอบและการทดสอบระบบของโซลาร์เซลล์ ที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า และเอกสารการชำระเงินจากการไฟฟ้า เพื่อขอหนังสือยกเว้น เมื่อได้รับแล้ว ให้ทำการยื่นหนังสือนี้กับเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า เพื่อเข้ามาตรวจสอบว่าผ่านกฎเกณฑ์ต่างๆ หรือไม่ หากผ่านแล้ว เจ้าหนัาที่จะทำการเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้าให้เป็นมิเตอร์สำหรับโซล่าเซลล์โดยเฉพาะ

โดยขั้นตอนการยื่นขออนุญาตจะใช้เวลาประมาณ 15-30 วัน และมีค่าใช้จ่าย 9,095 บาท (8,500 บาท + VAT 595 บาท) เป็นค่าเปลี่ยน Smart Meter